Aerodyne จับมือกับ AWS เพื่อแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมที่ซับซ้อนด้วยข้อมูลจากโดรน
บริษัทผู้ให้บริการโดรนจากมาเลเซียใช้ AWS เพื่อให้บริการข้อมูลเชิงลึกแก่องค์กรในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม การเกษตร และพลังงาน และลดต้นทุนถึง 70% ในการประมวลผลข้อมูลเมื่อเทียบกับการใช้งานศูนย์ข้อมูลในองค์กร (on-premise)
โดรนของ Aerodyne ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้พนักงาน ในการตรวจสอบเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ
ลาสเวกัส (30 พฤศจิกายน 2566) — อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services, Inc.: AWS) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ Amazon.com, Inc. (NASDAQ: AMZN) ได้ประกาศในงาน AWS re:Invent ว่า Aerodyne (แอโรดายน์) ผู้ให้บริการเทคโนโลยีโดรนโซลูชันอันดับ 1 ของโลก ในการให้บริการซอฟต์แวร์บนคลาวด์ (Software as a Service: SaaS) ชื่อ DRONOS บน AWS เพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการโดรนทั่วโลกสามารถขยายธุรกิจของตนได้ โดยบริษัทสตาร์ทอัพจากมาเลเซียนี้ให้บริการเทคโนโลยีโดรนโซลูชันทั้งหมดบน AWS สำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคม การเกษตร การควบคุมดูแล โลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมพลังงานใน 45 ประเทศ DRONOS เป็นแพลตฟอร์มบริการโดรนแบบครบวงจรที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ช่วยให้ผู้ใช้โดรนสามารถใช้งาน วิเคราะห์ และทำความเข้าใจข้อมูลจากโดรนเพื่อเพิ่มและขับเคลื่อนประสิทธิภาพการดำเนินงาน และดำเนินการตรวจสอบทางอากาศเพื่อให้พนักงานภาคพื้นดินมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น
บริษัทพลังงานและผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือมีการใช้โดรนเพิ่มมากขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานจากเสาและโครงข่ายไฟฟ้า ซึ่งเป็นการรักษาโครงสร้างพื้นฐานให้ดีขึ้น นอกจากนี้ เกษตรกรยังใช้เทคโนโลยีโดรนที่คล้ายกันเพื่อขับเคลื่อนการทำการเกษตรที่ต้องการความแม่นยำ Aerodyne ได้สร้าง data lake บน AWS โดยใช้ Amazon Simple Storage Service (Amazon S3) เพื่อจัดเก็บและเปลี่ยนข้อมูลจากโดรน ซึ่งรวมถึงภาพถ่าย ข้อมูลดาวเทียม การเกษตร และข้อมูลสภาพอากาศ ให้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้ โดยใช้ Amazon SageMaker ซึ่งเป็นบริการที่มีการจัดการโดย AWS (full managed services)เพื่อสร้าง เทรน และใช้งานโมเดลแมชชีนเลิร์นนิง (Machine Learning: ML) ซึ่งจะสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือและทุ่งนาโดยอัตโนมัติ
ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมระดับโลก การตรวจสอบ จัดการ และการคิดค่าใช้จ่ายสำหรับโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่และตั้งอยู่ในที่ห่างไกลอย่างแม่นยำ เช่น เสาส่งสัญญาณและเสาอากาศ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเชื่อมต่อที่ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม โครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้มักจะเข้าถึงได้ยากและมีความซับซ้อนในการตรวจสอบ การตรวจสอบเสาโทรศัพท์มือถือในอดีตมักทำโดยผู้เชี่ยวชาญในด้านการปีนเสา ที่ขึ้นไปเพื่อติดตั้งและบำรุงรักษาสายโทรศัพท์และระบบการสื่อสารด้วยการปีนขึ้นไปหลายร้อยฟุต ซึ่งโดรนช่วยทำให้กระบวนการนี้เป็นแบบอัตโนมัติ ทำให้พนักงานมีความปลอดภัยและมีเวลาทำงานอื่น ๆ ที่มีความสำคัญมากขึ้น Aerodyne ยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบสภาพทางกายภาพของเสาและพื้นที่ว่างสำหรับการติดตั้งเสาใหม่ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากโดรนที่อยู่บนคลาวด์โดยอัตโนมัติ เป็นการช่วยลดเวลาในการทำงานจากสองวันเหลือเพียงสามชั่วโมง
นอกจากนี้ Aerodyne ยังช่วยภาคเกษตรกรรมในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางอาหารทั่วโลกผ่านการเกษตรที่แม่นยำโดยใช้โดรน สตาร์ทอัพนี้ได้พัฒนาโซลูชันด้วย AWS เช่น แพลตฟอร์ม Agrimor ที่ขับเคลื่อนด้วย DRONOS ซึ่งช่วยให้เกษตรกรและผู้ให้บริการด้านการเกษตรสามารถใช้โดรนในการเพาะเมล็ด การฉีดพ่น การวิเคราะห์พืช และการทำแผนที่ทางการเกษตร ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตได้มากถึง 67% ตั้งแต่เกษตรกรอิสระไปจนถึงบริษัทปลูกน้ำมันปาล์มขนาดใหญ่ในมาเลเซียและอินโดนีเซียใช้ Agrimor เพื่อระบุปัญหาที่เกิดกับพืชผลได้อย่างรวดเร็ว เช่น การรดน้ำไม่เพียงพอหรือโรคพืช และปรับใช้ปุ๋ยหรือสารกำจัดศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดทรัพยากรและส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร และในที่สุดแล้วช่วยเพิ่มผลกำไรของพื้นที่การเกษตร ในส่วนของการขยายธุรกิจไปทั่วโลก Aerodyne จะขยายการให้บริการ Agrimor ไปยังบราซิล ปากีสถาน แกมเบีย และเซเนกัลในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้
สตาร์ทอัพระดับโลกนี้เติบโตอย่างรวดเร็ว มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุกปีตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2557 และได้รองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับเสาโทรศัพท์มือถือ 5G ใหม่โดยติดตั้งเสาอากาศ 5G ได้เร็วขึ้นกว่า 90% โดยใช้ แมชชีนเลิร์นนิง บน AWS นอกจากนี้ Aerodyne สามารถลดต้นทุนการจัดการของเสาสัญญาณลงโดยเฉลี่ย 20% ด้วยการใช้ AWS ลดต้นทุนถึง 70% ในการประมวลผลข้อมูลเมื่อเทียบกับ การใช้งานบนออนเพรมมิส (on-premise)
คามารุล เอ. มูฮาเหม็ด ผู้ก่อตั้งและกรุ๊ปซีอีโอของ Aerodyne กล่าวว่า “การทำงานร่วมกับ AWS ได้เปลี่ยนแปลงความสามารถของเราในการแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อน สามารถขยายไปยังประเทศอื่น ๆ ได้มากขึ้น และทำให้บริการของเราเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในธุรกิจโดรนทั่วโลก การเติบโตแบบก้าวกระโดดของเรานั้นเกิดขึ้นได้ด้วยความสามารถในการขยายงานของเรา(Scaling) บน AWS เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น ด้วยความคล่องตัว(agility) ของคลาวด์และการใช้แมชชีนเลิร์นนิง เราสามารถนำข้อมูลที่มีค่ามารวมกันเพื่อช่วยให้ผู้คนในอุตสาหกรรมการเกษตร โทรคมนาคม และพลังงาน สามารถตัดสินใจได้เร็วและดียิ่งขึ้นในการดำเนินธุรกิจ เรามีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งกับโซลูชัน DRONOS ของเราและความสำเร็จสำหรับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ และรู้สึกตื่นเต้นที่จะทำให้เกิดความสำเร็จขึ้นอีกครั้งสำหรับภาคส่วนอื่น ๆ”
Aerodyne มีแผนที่จะทดลองใช้ความสามารถด้าน Generative AI ของ AWS เพื่อสร้างโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่สามารถช่วยบริษัทต่าง ๆ ในการวางแผนการบินของโดรนได้ดีขึ้น และมองเห็นข้อมูลจากโดรนได้เกือบ 1 เพตะไบต์ รวมไปถึงข้อมูลเชิงลึกจาก Digital Twins ซึ่งเป็นการใช้โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพที่เสมือนจริง เช่น เสาโทรศัพท์มือถือ ฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ หรือกังหันลมที่มีอยู่ในปัจจุบัน Digital Twins เหล่านี้ช่วยให้ลูกค้าของ Aerodyne สามารถจัดการทรัพย์สินต่าง ๆ โดยการรวมรูปภาพและข้อมูลสิ่งแวดล้อมแบบเรียลไทม์ ตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสามารถใช้แพลตฟอร์ม DRONOS เพื่อดำเนินการบำรุงรักษาเชิงป้องกันได้ทันท่วงทีมากขึ้น ใช้พนักงานน้อยลงในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องปิดเสาส่งสัญญาณหรือหยุดให้บริการ ในอุตสาหกรรมพลังงาน Aerodyne ให้บริการ โดรนแบบSaaSเพื่อตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานด้วยภาพและความร้อนเพื่อตรวจจับปัญหา เช่น การรั่วไหลหรือการรุกล้ำของพืชพรรณ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาลงถึง 30%
คอเนอร์ แมคนามารา รองประธานภาคพื้นอาเซียนของ AWS กล่าวว่า “บริษัทสตาร์ทอัพทั่วโลกใช้ AWS เพื่อช่วยให้พวกเขาเปลี่ยนแปลงเป็นบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลได้อย่างคุ้มค่าและรวดเร็ว และบริการโดรนเป็นตัวอย่างที่ดีของการที่เทคโนโลยีคลาวด์ที่ทันสมัยและ Generative AI สามารถปฏิวัติอุตสาหกรรมทั้งหมดได้ สตาร์ทอัพที่ก่อตั้งในมาเลเซียอย่าง Aerodyne กำลังขยายธุรกิจไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วด้วย AWS โดยให้บริการโดรนที่เป็นนวัตกรรมใหม่แก่ลูกค้าทั่วโลก และช่วยให้พวกเขาเปลี่ยนข้อมูลทางภูมิศาสตร์เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ แพลตฟอร์ม DRONOS ของ Aerodyne ยังช่วยแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนอย่างความมั่นคงด้านอาหารด้วยพลังของ AI และเรารู้สึกยินดีที่ได้สนับสนุน Aerodyne ในการขยายไปทั่วโลก”
AWS แสดงความมุ่งมั่นอย่างลึกซึ้งในระยะยาวต่อลูกค้าและชุมชนท้องถิ่นในมาเลเซียด้วยแผนการที่จะลงทุนมากกว่า 6 พันล้านเหรียญสหรัฐในประเทศภายในปี 2580 พร้อมเปิดตัว AWS Region ในประเทศมาเลเซียในปี 2567 นอกจากนี้แล้ว AWS ได้มีการอบรมประชาชนมาเลเซียแล้วกว่า 50,000 คนในทักษะด้านคลาวด์ตั้งแต่ปี 2560 การย้ายสู่ระบบพลังงานหมุนเวียน เป็นอีกหนึ่งวิธีในการลดคาร์บอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปี 2565 90% ของพลังงานไฟฟ้าที่ถูกใช้โดย Amazon มาจากพลังงานหมุนเวียน
ในฐานะที่ Amazon เป็นบริษัทที่มีการซื้อพลังงานหมุนเวียนรายใหญ่ที่สุดในโลก Amazon ยังได้ประกาศโครงการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนมากกว่า 400 โครงการทั่วโลก
และมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนการดำเนินงานด้วยพลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2568 รายงานจาก 451 Research ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ S&P Global Market Intelligence เผยว่าการย้ายปริมาณงานและการประมวลผลจากศูนย์ข้อมูลภายในองค์กร
(on-premise
data center) ไปยังระบบคลาวด์สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับบริษัทต่าง
ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า
78%
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น