Learning Continues Online: Facebook แนะนำเครื่องมือเสริมการเรียนการสอนออนไลน์เชื่อมต่อกลุ่มครู-นักเรียน


ในแต่ละวัน ผู้คนจำนวนหลายล้านคนเข้ามาใช้งาน Facebook เพื่อเชื่อมต่อถึงกันอย่างมีความหมาย และมีการสื่อสารที่อยู่เหนือพรมแดน ภาษา และวัฒนธรรมต่างๆ และยังช่วยให้ผู้คนจำนวนมากสามารถเชื่อมต่อกับใครก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ใด เวลาไหน ตามที่พวกเขาต้องการ
ในการรับมือกับสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 เราได้เห็นการปรับตัวของภาคการศึกษาไทยและเหล่าคณะอาจารย์ในประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนจากห้องเรียนสู่ช่องทางออนไลน์ที่สามารถสอนจากที่ไหนก็ได้สอดคล้องกับคำแนะนำของกระทรวงศึกษาธิการและคำแนะนำทั่วไปในการรักษาระยะห่างในสังคม (Social distancing) การปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนดังกล่าว ในขณะที่ยังคงต้องดูแลเอาใจใส่นักเรียนและนักศึกษา อาจเป็นเรื่องที่ยากลำบากสำหรับโรงเรียนและชุมชนหลายแห่งในขณะนี้
อย่างไรก็ตาม โรงเรียนและมหาวิทยาลัยในไทยกำลังบุกเบิกและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงบนช่องทางออนไลน์ ซึ่งรวมถึงหลักสูตรการเรียนการสอนของ ผศ.ดร.วรรณวิภา ศิริวัฒน์เวชกุล จากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Sirindhorn International Institute of Technology) และ อ.ดร. คุณยา วิมุกตานนท์ ประธานหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยอาจารย์ทั้งสองท่านเริ่มต้นใช้งาน Facebook สำหรับระบบการจัดการเรียนรู้ดิจิทัลของพวกเขา เพื่อรักษาการเชื่อมต่อกับนักเรียนอย่างเป็นธรรมชาติเช่นเดิ
ผศ.ดร.วรรณวิภา ศิริวัฒน์เวชกุล เชื่อว่าปัญหาหลักที่มหาวิทยาลัยและโรงเรียนกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้คือความต้องการที่จะเปลี่ยนไปสู่การเรียนการสอนออนไลน์อย่างสิ้นเชิง โดยที่ยังคงมีการแสดงความคิดเห็นและปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างครบถ้วน เพื่อให้ทั้งอาจารย์และนักเรียนได้รู้ว่าสิ่งใดที่พวกเขาควรพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในระหว่างชั้นเรียน
ผศ.ดร.วรรณวิภา ศิริวัฒน์เวชกุล ใช้งานฟีเจอร์ไลฟ์เพื่อจัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาผ่านกลุ่มบน Facebook  (ภาพประกอบได้รับการสนับสนุนโดย ผศ.ดร. วรรณวิภา ศิริวัฒน์เวชกุล)
ผศ.ดร.วรรณวิภา ศิริวัฒน์เวชกุล กล่าวว่า “นี่คือเหตุผลที่เราเลือกใช้งาน Facebook นักศึกษาต่างชื่นชอบในกลไกที่พวกเขาแสดงความคิดเห็นได้ โดยนักเรียนจะกดส่งอีโมจิรูปหัวใจเวลาที่สนุกกับการเรียน และกดส่งอีโมจิหน้าโกรธมาให้ เมื่อรู้สึกว่าครูสอนเร็วเกินไป อาจารย์จึงเข้าใจความต้องการของพวกเขาได้ง่าย นอกจากนี้ บรรยากาศที่เป็นกันเองยังช่วยให้นักศึกษาผ่อนคลายและมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นต่างๆ”
อ.ดร. คุณยา วิมุกตานนท์ กล่าวว่า “การผสานการเรียนรู้เข้ากับโซเชียลมีเดียของนักศึกษาช่วยให้พวกเขารู้สึกว่า ‘นี่คือส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน’ มากกว่าที่จะมองว่าเป็นระบบการจัดการเรียนรู้ดิจิทัลที่แยกออกมา จากการที่โซเชียลมีเดียเป็นส่วนสำคัญของชีวิตของนักศึกษาอยู่แล้ว ช่วยให้พวกเขาปรับตัวสู่การเรียนรู้บนโลกออนไลน์ได้ดียิ่งขึ้น”
“Facebook มีเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนมากมาย กลุ่มบน Facebook ถือเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่มีคุณค่า โดยครูผู้สอนสามารถใช้ไลฟ์สตรีมและการอัพโหลดวิดีโอผ่าน Facebook Group ของแต่ละห้องเรียนได้ อีกทั้งยังสามารถแชร์การประกาศ สไลด์การนำเสนอผลงาน คลิปวิดีโอ และบทความกับนักศึกษาได้ด้วย”
ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน องค์กร หรือชุมชน เครื่องมือและแอพในเครือของ Facebook สามารถช่วยให้คุณเชื่อมต่อกับสิ่งที่มีความสำคัญกับคุณได้ โดย Facebook ได้สร้างสรรค์ชุดทรัพยากรต่างๆ รวมถึงศูนย์กลาง School’s Out เพื่อช่วยให้ชุมชนต่างๆ เชื่อมต่อกันได้อย่างสะดวก ในเวลาที่พวกเขาไม่สามารถพบปะกันในโลกแห่งความเป็นจริงได้
นี่คือเคล็ดลับที่คุณสามารถนำไปใช้เพื่อเชื่อมต่อกับนักเรียนและชุมชนของคุณ
ใช้งานเพจ Facebook และบัญชี Instagram ของโรงเรียน/หน่วยงานเป็นที่กระจายข่าวสารค้นหาหรือสร้าง Facebook Group เพื่อเชื่อมต่อและทำงานร่วมกับชุมชนผ่านช่องทางออนไลน์ คอยแจ้งข่าวสารแก่ชุมชนของคุณผ่านการอัพเดทข้อมูลล่าสุดผ่านเพจ Facebook และบัญชี Instagram ของโรงเรียน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสถานะเกี่ยวกับเวลาดำเนินการของโรงเรียนด้วย
ใช้ Facebook Group แชร์ข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือในกลุ่มอาจารย์หรือกลุ่มผู้ปกครอง อาจารย์ชาวไทยต่างกำลังค้นหาหรือเริ่มสร้าง Facebook Group เพื่อเชื่อมต่อ พูดคุย และแชร์วิธีการในการให้ความช่วยเหลืออาจารย์คนอื่นๆ และผู้ปกครอง ตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมคือกลุ่ม Teaching during COVID-19 Facebook Group คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้าง Facebook Group ได้ที่นี่
สร้างพื้นที่ส่วนหนึ่งใน Facebook Group เพื่อแชร์ข้อมูลและทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย โดยทีม Facebook ขอแนะนำการแชร์ลิงค์ขององค์การอนามัยโลก

ใช้เครื่องมือต่างๆของ Facebook ในการสื่อสารและเสริมการทำงานร่วมกัน
Facebook Group
อาจารย์ทั่วประเทศไทยสร้างกลุ่มบน Facebook ร่วมกับนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเข้าร่วม การสนับสนุน และความร่วมมือ โดยอาจารย์สามารถทำให้ประสบการณ์การเรียนรู้เกิดประโยชน์สูงสุดได้จากการสร้างสรรค์ การจัดการ และการแชร์ประกาศ เอกสาร อีเวนต์ วิดีโอแบบไฟล์ โพลล์ หน่วยการเรียนรู้ และการสอบถามต่างๆ
ผศ.ดร.วรรณวิภา ศิริวัฒน์เวชกุล เน้นให้เห็นถึงวิธีการที่ไม่เหมือนใครในการผสมผสานฟีเจอร์เหล่านี้ในชั้นเรียนว่า “อาจารย์มักใช้โพลล์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักเรียน และพบว่านักศึกษามีปฏิสัมพันธ์บน Facebook มากกว่าในชั้นเรียนจริงๆ เสียอีก อีกหนึ่งเครื่องมือที่อาจารย์ใช้คืออีเวนต์ ซึ่งพวกเราใช้ในเชิงสร้างความสนุกสนานเพื่อช่วยเตือนนักศึกษาเกี่ยวกับการบ้านหรือโครงงานต่างๆ โดยเครื่องมืออย่างอีเวนต์จะคอยแจ้งเตือนนักศึกษาโดยอัตโนมัติ ทำให้ไม่ต้องเปลืองแรงเตือนเหล่านักศึกษาด้วยตัวเอง”
Facebook Live
การไลฟ์บน Facebook เป็นวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับอาจารย์ในการมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนนักศึกษาได้แบบเรียบลไทม์ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ใดก็ตาม หากพวกเขาไม่สามารถมาเจอกันที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย อาจารย์สามารถใช้ไลฟ์บน Facebook ผ่านแอพเพื่อจัดอีเวนต์ออนไลน์และเชื่อมต่อกันผ่านการถ่ายทอดสดการสนทนาแบบไลฟ์ การจัดช่วงถาม-ตอบในเวลาดำเนินการหรือโดยผู้นำของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการไลฟ์บน Facebook ที่นี่
การใช้ Facebook Live ที่บันทึกเนื้อหาได้โดยอัตโนมัติ ทำให้ อ.ดร. คุณยา วิมุกตานนท์ สามารถจัดการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาได้อย่างยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น
(ภาพประกอบได้รับการสนับสนุนโดย อ.ดร. คุณยา วิมุกตานนท์)

อ.ดร. คุณยา วิมุกตานนท์ กล่าวว่า “ความยืดหยุ่นในการเลือกใช้ไลฟ์บน Facebook หรืออัพโหลดวิดีโอที่บันทึกไว้ล่วงหน้าช่วยสร้างความต่อเนื่องได้อย่างดียิ่ง นอกจากนี้ วิดีโอแบบไลฟ์ยังถูกบันทึกไว้โดยอัตโนมัติ ซึ่งหมายถึงการเข้าถึงที่กว้างขวางยิ่งขึ้นสำหรับนักศึกษาที่ไม่สามารถเข้าร่วมหรือประสบปัญหาในการเข้าร่วมที่ต้องใช้การเชื่อมต่ออย่างรวดเร็ว”
เคล็ดลับที่เป็นประโยชน์ในการจัดไลฟ์บน Facebook ได้แก่
  1. จัดไลฟ์สดในกลุ่ม Facebook เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวและควบคุมกลุ่มผู้รับชม
  2. สร้างอีเวนต์ภายในกลุ่มเพื่อแจ้งให้ผู้คนทราบตารางไลฟ์สดล่วงหน้า
  3. รอสัก 2-3 นาทีก่อนเริ่มเพื่อรอให้ผู้ชมเข้ามาในไลฟ์
  4. ผู้ชมสามารถปรับคุณภาพของวิดีโอเพื่อช่วยให้การรับชมราบรื่นขึ้น หากอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร
  5. กระตุ้นให้ผู้ชมมีส่วนร่วมด้วยการคอมเม้นท์หรือส่งอีโมติคอน
  6. กดบันทึกหรือเซฟวิดีโอเพื่อให้นักเรียนกลับมาชมย้อนหลังได้
Messenger
จากการที่ประเทศไทยเปลี่ยนไปสู่การทำงานจากที่บ้านเพิ่มขึ้น ทำให้การสนทนาบนช่องทางออนไลน์ ต่างๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีจำนวนสูงสุด คน ทั้งกับเพื่อนร่วมงาน อาจารย์ ฝ่ายบริหารของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย และผู้ปกครอง ผ่านการส่งข้อความ รูปภาพ เสียง และคลิปวิดีโอเพื่ออัพเดทและถามไถ่ความเป็นไปของกันและกัน

Messenger สามารถช่วยให้อาจารย์เชื่อมต่อกับชุมชนได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น ดังนี้
  1. ค้นหาและเชื่อมต่อกับผู้คนได้อย่างง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องมีเบอร์โทรศัพท์มือถือ
  2. เข้าถึงอย่างไร้รอยต่อผ่านอุปกรณ์ทั้งหมด (ทั้งระบบ iOS และ Android)
  3. สามารถใช้เพื่อโทรสนทนากันหรือวิดีโอคอลได้ทั้งระหว่างบุคคลหรือแบบกลุ่ม
  4. สามารถส่งข้อความได้ แม้ไม่มีดาต้าอินเทอร์เน็ต
คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้งาน Facebook ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่เชื่อมต่อกันได้ง่ายขึ้นได้ที่ https://education.fb.com/schools-out/

ความคิดเห็น